วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมของภาคเหนือ

ศิลปะวัฒนธรรมของภาคเหนือ




ลักษณะภูมิประเทศ

ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศที่พื้นที่ เป็นภูเขามากกว่าทุกภาค
ซึ่งเป็นร้อยละ 78 ของพื้นที่ทั้งหมดในภาคเหนือ

สามารถแบ่งเขตภูมิลักษณ์ได้ 3 เขต

   1.เขตทิวเขาและภูเขา
   2.เขตที่ราบและหุบเขา        
   3.เขตแอ่งที่ราบ

ลักษณะภูมิประเทศทิวเขาและภูเขา

- ทิว เขาแดนลาว
   เป็นทิวเขาทอดตัวยาวอยู่แนวตะวัน ตก-ตะวันออก กันพรมแดน ระหว่างไทยกับพม่า รวมความยาว 250 กิโลเมตร ยอดทิวเขาสำคัญ ดอยตุง สูง 1356 เมตร  ดอยผ้าห่มปก 1456 สูง เมตร และ ดอยอ่าวขาง สูง 1918 เมตร เป็นที่กำเนิดแม่น้ำปิง

- ทิว เขาถนนธงชัย
   เป็นทิวเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ทอดตัวยาวเหนือมาใต้ แนวระหว่าง ไทยกับพม่า วางตัวทอดลงมาในเขตแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ มียอดเขา สูงสุดคือ ดอยดิอินทนนท์ สูง 2580 เมตร

- ทิวเขาผีปันน้ำ
   เป็นทิวเขาที่ที่แบ่งน้ำเป็น2ทิศ คือไหลสู่ทิศเหนือสู่แม่น้ำโขงทิศใต้ไหล สู่แม่น้ำปิง วัง ยม น่านมีความยาวทั้งหมด 475 กิโลเมตร มียอดเขาคือดอย แม่โถ สูง 1767 เมตร และดอยขุนตาล สูง 1348 เมตร

- ทิวเขาหลวงพระบาง
  เป็นทิวเขาที่ตั้งอยู่ด้าน ตะวันออกของภาคเหนือ เป็น พรมแดนกั้นไทยกับลาว มีความยาวทั้งหมด 50 5เมตร มียอด เขาสูงสุดคือภูเมียงอยู่ในประเทศลาว เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน

ลักษณะภูมิประเทศที่ราบและหุบ เขา



- ที่ ราบแม่น้ำปิง
   เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของภาคเหนือ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

- ที่ราบแม่ น้ำวัง
   เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญอีกแล่งหนึ่งของาคเหนือ อยู่ในจังหวัดลำปาง

- ที่ราบแม่ น้ำยม
   เป็นอยู่ระหว่างทิวเขาผีปันน้ำ ในจังหวัดแพร่

- ทีราบแม่ น้ำน่าน
   เป็นแล่งการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดในภาคเหนือ คือจังหวัดน่านและอุตรดิตถ์

- ที่ราบแม่น้ำยวน
   เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ อยู่ในเขตอำเภอขุนยวนอำเภอลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

- ที่ราบแม่น้ำกก
   เป็นราบลุ่มแคบๆ อยู่ในเขตอำเภอแม่อายจังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอ เมืองเชียงราย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

- ที่ราบแม่น้ำอิง
   อยู่ ติดกับที่รายแม่น้ำกก อยู่ในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย อำเภอเทิง จังหวัด แม่ฮ่องสอน

- ที่ราบแม่เมย
   เป็นเส้นพรมแดนก้นระหว่างไทยกับพม่า เป็นที่ราบแคบ เป็นที่ราบแคบๆในเขต อำเภอแม่สะเพียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

- ที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่ น้ำโขง
   เป็นที่ราบแคบ อยู่ในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่

ลักษณะภูมิประเทศแอ่งที่ราบ

- แอ่งแม่น้ำแจ่ม
   เป็นแหล่งที่ราบขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่แจ่ม

- แอ่งแม่น้ำตื่น
   เป็นที่ราบส่วนอยู่ส่วนใต้ของทิวเขาถนนธงชัยในจังหวัด เชียงใหม่ อำเภออมก๋อย

- แอ่งน้ำฝาง
   เป็นที่ราบส่วนอยู่ส่วนใต้ของทิวเขาถนนธงชัยและด้านทิศ ตะวันตกทิวเขาผีปันน้ำ

- แอ่งแม่งัด
   เป็นที่ราบที่มีดินอุดมสมบูรณ์มาก ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่

- แอ่งลำปาง
   เป็นที่รายที่ยาวที่สุดของภาคเหนือ ตั้งอยู่ใหจังหวัดลำปาง





1.การแต่งกาย ภาคเหนือ

             การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่เตี่ยวหรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน 

สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ 


วัฒนธรรมการแต่งกายของภาคเหนือ

วัฒนธรรมการแต่งกายของภาคเหนือ    มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณีและวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง สำหรับภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล อย่างเช่น คำว่าอู้ แปลว่า พูด คำว่าเจ้า แปลว่า ค่ะ คำว่า แอ่ว แปลว่าเที่ยว คำว่า กิ๊ดฮอด แปลว่าคิดถึง
ลักษณะการแต่งกายของคน
ภาคเหนือ
สำหรับการแต่งกายนั้นถือเป็น สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะสามารถบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของคนในแต่ละพื้นถิ่น ในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีตการแต่งกายของภาคเหนือนั้น ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป สำหรับปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองมีการได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งเนื่องจากในท้องถิ่นนี้ได้มีผู้คนที่หลากหลายชาติพันธุ์ได้มาอาศัยอยู่ อย่างเช่น ชาวไทยวน ชาวไทลื้อ ชาวไทเขิน ชาวไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์นั้น ได้ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ฉะนั้นคณะการทำงานเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อที่ไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของผู้หญิงล้านนาเอาดังต่อไปนี้

ข้อที่  1.ผู้หญิงไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
ข้อที่   2. ผู้หญิงไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะเพราะจะทำให้ดูรกรุงรัง
ข้อที่   3.ผู้หญิงไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือการใช้คาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า หรือ ตุง  ซึ่งไม่ควรนำมาพาดบ่า
4.สำหรับตัวซิ่นลายทางได้ตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ดังนั้นไม่ควรจะนำ

การแต่งกายภาคเหนือการแต่งกายภาคเหนือ2การแต่งกายภาคเหนือ3


อ้างอิง http://www.didnalwop.com/?p=80



      

อาหารพื้นบ้านของภาคเหนือ



     สำหรับกับข้าวของคนเหนือเรียกว่า
โก๊ะข้าวหรือขันโตก  ทำมาจากไม้
รูปทรงกลม มีขาสูงพอดีที่จะนั่งร่วมวง
รับประทานอาหารได้อย่างสะดวก เมื่อ
อาหารเหลือจะนำจานอาหารบนกระบุง
แล้วผูกเชือกแขวนไว้ในครัว  เพื่อป้องกัน
มดและแมลงมาไต่ตอม
อ้างอิง http://www.google.co.th/imgres?hl=th&sa=X&tbo=d&biw=1280&bih=619&tbm=isch&tbnid=iafDxGnd9ojUNM:&imgrefurl=http://www.diaryclub.com/users/oattoto/20100417/Songkran-Holiday-3-%25E0%25B7%25D5%25E8%25C2%25C7%25E0%25A2%25D7%25E8%25CD%25B9%25CA%25D4%25C3%25D4%25A1%25D4%25B5%25B5%25EC-%25A1%25D4%25EB%25B9%25A2%25D1%25B9%25E2%25B5%25A1.php&docid=FOMyu5rCw2p-8M&imgurl=http://farm5.static.flickr.com/4023/4527842433_f967ee1940_o.jpg&w=600&h=400&ei=fD8SUengEIzirAfcuoDYDQ&zoom=1


อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ





    มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับประชาชนที่อยู่อาศัย  สภาพดินฟ้าอากาศของภาคเหนือ  อาหารพื้นเมืองภาคเหนือบางชนิดมีส่วนใกล้เคียงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพราะเป็นถิ่นที่มีภูเขา  ป่าไม้เช่นกัน  อาหารที่คล้ายคลึงกัน  เช่น  ลาบ  แหนม
หมูยอ  ข้าวเหนียว  แต่รสชาติแตกต่างกันไปบ้าง


อ้างอิง http://122.155.3.189/~clickchill/file/North.html



อ้างอิง http://www.google.co.th/imgres?um=1&hl=th&tbo=d&biw=1280&bih=619&tbm=isch&tbnid=z5M60KlddPcp6M:&imgrefurl=http://nuployza.blogspot.com/2011/01/4_9720.html&docid=cztNoUzuTGA_FM&imgurl=https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg5h4XbFNCjN9VgxQElirMa0ohvOlOeo7rBnPGflCJhO5ythmnO6bXZ4ETy7skIxxLT59T6Sj_zediQAWID8H6fV4O6LQUBx2tgCfMGMer2XiAzdVF_K9t9KhtjtFj53yoU_32V-lBc0wM/s1600/1%2525255B2%2525255D.jpg&w=500&h=384&ei=20sSUfCzE4iIrAfk64GwAg&zoom=1&iact=hc&vpx=196&vpy=304&dur=2384&hovh=197&hovw=256&tx=131&ty=139&sig=102749149206447243154&page=1&tbnh=135&tbnw=184&start=0&ndsp=20&ved=1t:429,r:15,s:0,i:123


          อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแดง น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นเมือง เช่น แหนม ไส้อั่ว เนื้อนึ่ง จิ้นปิ้ง แคบหมู หมูทอด ไก่ทอดและผักต่างๆ          คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาดเนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมาคือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล
อ้างอิง http://nuployza.blogspot.com/2011/01/4_9720.html

ลักษณะบ้านเรือนไทยของภาคเหนือ



 
เรือนในภาคเหนือ เรียกกันว่า "เฮือน" รูปแบบของเรือนไทยภาคเหนือ ได้รับอิทธิพลทางล้านนาหาก แบ่งประเภทเรือนไทยภาคเหนือ ตามลักษณะของวัสดุก่อสร้างและรูปทรง แบ่งได้ดังนี้

เรือนไม้บั่ว

คำว่าไม้บั่ว  คือไม้ไผ่มักพบเห็นเรือนประเภทนี้ในท้องถิ่นชนบทส่วนที่อยู่นอกเมืองชาวนาชาวไร่จะใช้เรือนประเภทนี้กันทั่วไปเนื่องจากก่อสร้างง่ายราคาถูกเป็นเรือนชนบทที่พบเห็นตั้งแต่เป็นห้างเฝ้าทุ่งซึ่งมีประโยชน์ ใช้งานตามฤดูกาลในภาคกลางเรียกเรือนประเภทนี้ว่า เรือนไม้ผูก นั่นเอง
เรือนชนิดนี้นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งทำเสา คาดและตอม่อ ไม้ไผ่ทุกชนิดของภาคเหนือมีคุณสมบัติพิเศษ คือ เนื้อแกร่งคงทน และมีขนาดใหญ่กว่าไม้ไผ่ภาคอื่น ๆ ส่วนหลังคา ตง พื้นใช้ไม้ไผ่ฝาเป็นฝาไม้ไผ่ฝาส่วนมากขัดด้วยแตะ แต่แตะเป็นฟากสับนำมาขัดเป็นลายหยาบ ๆ ทั้งทางตั้งและทางนอน หรือใช้ไม้ซางสานเป็นลวดลาย เรียก"ฝาลายอำ"ถ้าต้องการความอบอุ่นก็จะใช้ตับคาหรือตับตองตึงกรุเป็นฝาส่วนเครื่องมุงหลังคาใช้   "คาหรือตองตึง"  เรียกมุงคามุง
ตองตึงมุงแฝกหรือใบตองตึง(ใบพลอง) การมุงคาหรือมุงตองตึงต้องสัมพันธ์กับฝาด้วย ถ้าฝาเป็นคาหลังคาก็ต้องมุงคา เช่นเดียวกับฝาเป็นตองตึง หลังคาก็ต้องมุงด้วยตองตึง นิยมใช้ตอก   และหวายเป็นตัวยึดส่วนต่าง ๆ ของเรือนเข้าด้วย
กันตามวิธีผูกมัด เป็นเรือนขนาดเล็กและถือว่าเป็นเรือนแบบดั้งเดิม   เพราะวิธีการก่อสร้างเป็นระบบวิธีเก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งใบตองตึงนั้นหาได้ง่ายทางภาคเหนือนิยมมุงหลังคา และมีการประกอบเป็นตับใบตองตึง    ซึ่งทำเป็นสำเร็จรูปอุตสาหกรรมในครัวเรือนเรือนไม้จริง


  • เรือนกาแล
เป็นเรือนไทยที่คนทั่วไปเห็นแล้วชื่นชมในความเป็นประณีตศิลป์ทางสถาปัตยกรรมของภาคเหนือ เรือนกาแล จะเป็นเรือนที่อยู่อาศัยของ คหบดี หรือเจ้านาย เป็นเรือนที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของบ้านพักอาศัยแบบล้านนาอย่างชัดเจน ชื่อเรือนกาแล มาจากนิยมสร้างไม้กาแลแกะสลักไว้บนสุดของหน้าจั่ว ด้วยลวดลายและความอ่อนช้อย ของฝีมือช่างนี้เองที่กลายเป็นเสน่ห ์ ของเรือนกาแลมาทุคยุคทุกสมัย



  • เรือนสมัยกลาง
เป็นเรือนไม้จริงซึ่งมีวัฒนาการมาจากเรือนกาแลวิวัฒนาการของเรือนไทยล้านนาที่พัฒนามาจากเรือนกาแลมีหลากหลายรูปแบบ และชาวบ้านเรียกเรือนเหล่านี้ว่า   "เฮือนสมัยก๋าง" หรือเรือนสมัยกลางซึ่งเรือนที่มีความโดดเด่น คือเรือนทรงสะละไนหรือเรือนประเภทประดับลายฉลุไม้   เป็นเรือนที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม   และวัฒนธรรมที่ชาวล้านนาได้รับมาจากภายนอกลักษณะจะแปรเปลี่ยนไปตามสมัยนิยมโดยนำวิธีการตกแต่งลายฉลุไม้มาตกแต่งทรงจั่วหลังคาและเชิงชายประเภทเรือนภาคเหนือแบบดั้งเดิม
โคลงโบราณเรื่องท้าวฮุ่งท้ายเจือง กล่าวถึงสภาพชุมชนเมืองในอดีตของขุนเจือง แบ่งเรือนพักอาศัยตามชนชั้นทางสังคม เป็น เรือนพักอาศัยของชนชั้นระดับเจ้า หรือ กษัตริย์ เรียก  โฮงฮาช หรือ  โรงราช และ หอ สำหรับหอที่ช่อฟ้าปิดทองทั้งหลัง   เรียก หอคำ

เรือนพักอาศัยของชาวบ้าน
แบ่งตามชนิดของวัสดุปลูกสร้างเป็น 2 ประเภท คือ เรือนไม้จริงและเรือนไม้บั่วหรือเรือนไม้ ผูกกับเรือนไม้สับในภาคกลาง คนโบราณเรียกเรือนไม้จริงว่า   " เรือนสุบขื่อสุบแป" เรียกเรือนไม้บั่วว่า "เรือนมัดขื่อมัดแป"   คำว่า ไม้บั่วหมายถึงไม้ไผ่ คำว่า สุบขื่อสุบแป หมายถึง การสวมแปด้วยการบากไม้ยึดขื่อและแป และโครงสร้างเรือนส่วนต่าง ๆ ประกอบไว้ด้วยกันอย่างมั่นคงส่วนมัดขื่อมัดแป คือ การยืดองค์ประกอบต่าง ๆ   ของเรือนไว้ด้วยการผูกมัดบ้านที่สมบูรณ์

คติทางเหนือ
ถือว่าถ้าเป็นบ้านที่สมบูรณ์แล้วจะต้องประกอบไปด้วย บ่อน้ำ ครกกระเดื่อง ยุ้งข้าว(หรือที่เรียกว่าหลองข้าว)และครัวไฟ เรือนพักอาศัยในภาคเหนือ มักกั้นด้วยรั้วไม้ไผ่โปร่ง ๆ บางบ้านใช้รั้ว ต้นไม้บอกเขตเช่น ใช้ต้นชา เป็นต้น
การแบ่งส่วนใช้สอยในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรือนประเภทใด จะต้องมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ อาทิ บันไดและเสาแหล่งหมาตัวบันไดจะหลบเข้าอยู่ใต้ชายคา เสาแหล่งหมา จะเป้นเสายาวตั้งลอยรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคา
เติ๋น   พื้นที่ใช้งานอเนกประสงค์ เป็นเนื้อที่กึ่งเปิดโล่ง
ร้านน้ำ หรือ ฮ้านน้ำ  ถ้าเป็นเรือนใหญ่มีชานโล่ง ร้านน้ำ จะอยู่มุมใกล้ทางบันได หรืออยู่ใกล้ครัว
ห้องนอน  มีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ใช้งานอื่นฝาล้มออกมีแผ่นไม้กั้นกลางเรียกว่าไม้แป้นต้องซึ่งจะช่วยลดความสั่นไหวของพื้นห้องนอนไม่รบกวนผู้ที่กำลังพักผ่อนอยู่ระเบียงทางเดินและชานเรือน  ส่วนใหญ่มักเปิดโล่งตามแนวยาวขวางกับจั่วเรือนซึ่งเรือนทางเหนือ ถือเอาจั่วเรือนเป็นด้านสำคัญ

อ้างอิง http://www.openbase.in.th/node/10421

การบรรเลงดนตรีของภาคเหนือ

อ้างอิงhttp://www.youtube.com/watch?v=kTtwQN7NlPU

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

มารู้จักอาเซียนกันเถอะ









อาเซียน คือ

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ






ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้




1.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน



2.กัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ



3.อินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา


4.ลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์



5.มาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์



6.พม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)



7.ฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา


8.สิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์



9.เวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย



10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
                                    ICT กับ ASEAN

 นอกจากนี้ รัฐมนตรีอาเซียนได้ประชุมหารือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี  อินเดีย และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)  โดยผลการหารือระหว่างอาเซียนและคู่เจรจาได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนอาเซียนในการพัฒนาและวิจัยด้านไอซีที  รวมทั้งแนวปฏิบัติตามแผนแม่บท AIM 2015  ทั้งนี้คู่เจรจาจะสนับสนุนอาเซียนในการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านต่างๆ ได้แก่  ๑.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Infrastructure) ๒. เทคโนโลยีอุปกรณ์เคลื่อนที่ไร้สายสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง (Broadband Wireless Mobile)  ๓. การประมวลผลแบบคลาวด์  (Cloud Computing)  ๔. ความมั่นคงปลอดภัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Security) และ ๕. การประยุกต์ใช้ไอซีทีและความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีที (ICT Applications and Security)
              นอกเหนือจากการประชุม TELMIN ครั้งที่ ๑๑ และการประชุม TELMIN กับประเทศคู่เจรจาต่างๆ แล้ว รัฐมนตรี อนุดิษฐ์ฯ ยังได้มีโอกาสหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีไอซีทีจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี รวมถึงรองเลขาธิการ ITU สำหรับประเด็นที่หารือหลักคือ  ๑. การให้ความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูล และ ร่วมกำหนดแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืนโดยอาศัยไอซีที  ๒. ความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และ ๓. แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านไอซีที ทั้งนี้ รัฐมนตรี อนุดิษฐ์ฯ ได้มอบหมายผู้ประสานงานเพื่อดำเนินการประสานงานกับประเทศคู่เจรจาดังกล่าว รวมทั้ง ITU ด้วย